วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปกครองของแต่ละสมัย

การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น  (พ.ศ. 1792 - 1841)
     ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัยเริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นการปกครองแบบ  พ่อปกครองลูก
     การปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ประชาชนทุกคนเสมือนหนึ่งเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน  โดยมีกษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว  มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง  แต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว  ทรงยินยอมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองด้วย  ประชาชนจึงเรียกกษัตริย์ว่าพ่อขุน  เช่น  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหง  เป็นต้น  การปกครองลักษณะนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนว่ามีความใกล้ชิดกันมาก
     กษัตริย์นอกจากจะเป็นผู้ปกครองและเป็นเสมือนพ่อแล้ว  ยังทรงเป็นตุลาการที่เที่ยงธรรมด้วย  จากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวไว้ว่า  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงพระองค์ทรงให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง  เมื่อพ่อขุนทรงทราบเรื่องก็จะออกมาไต่สวนคดีความด้วยพระองค์เอง
     นอกจากนั้น  ในยามเกิดศึกสงครามพ่อขุนจะทรงเป็นจอมทัพของกองทัพหลวง  เมืองขึ้นต่าง ๆ จะต้องเกณฑ์ทัพมาร่วมกันต่อสู้ป้องกันราชอาณาจักรและเมื่อยามบ้านเมืองสงบ  พ่อขุนจะทรงออกว่าราชการและดูแลทุกข์สุขของราษฎร  เช่น  ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  พระองค์จะทรงออกว่าราชการที่ป่าตาล  โดยประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตรเป็นประจำทุกวัน  ยกเว้นในวันพระและวันโกน  โดยในวันดังกล่าวนี้จะทรงนิมนต์พระเถระให้มาเทศนาสั่งสอนประชาชนเป็นประจำ
การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย  (พ.ศ. 1841 - 1981)
     หลังจากสิ้นสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว  กษัตริย์องค์ต่อมา  คือ  พญาเลอไทย  และ  พญางั่วนำถม  ในช่วงนี้อาณาจักรสุโขทัยเริ่มระส่ำระสวยเมืองต่าง ๆ พากันแยกตัวอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย  ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย  มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนื่อง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง
     เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)  ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว  และทรงเห็นว่าการแก้ปัญหาการเมืองด้วยการใช้อำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวคงทำได้ยาก  เพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ  พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักในการปกครองอาณาจักร  พร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป
     การปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักนี้  เรียกว่า  การปกครองแบบธรรมราชา  กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือพระราชาผู้ทรงธรรม  ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม

การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี    มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัย
พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย  ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
วัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา   เมืองขึ้นของ
ชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ
พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง   จึงได้
ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่
ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี
พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัป
มาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ    การปกครองดังกล่าว
ต่อไป
    สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ยังคงอยู่
ในรูปแบบของเศรษฐกิจพอยังชีพ  กล่าวคือยังไม่มีการแบ่งงานกันทำแต่ละครอบครัวต้อง
ผลิตของที่จำเป็นทุกอย่างขึ้นมาใช้เอง   ที่ดินก็ยังว่างเปล่าอยู่มาก   ในขณะที่แรงงานเพื่อ
ประกอบการผลิตยังมีอยู่น้อย เพราะสภาพสังคมขณะนั้นแรงงานคนส่วนใหญ่ต้องอุทิศให้
กับ การเข้าเวรรับราชการและรับใช้มูลนายเวลาที่เหลือเพียงส่วนน้อยจึงเป็นเรื่องของการ
ทำมาหาเลี้ยงชีพและครอบครัว ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งจึงเป็นไปตามความต้องการของครัว
เรือนและอีกส่วนหนึ่งส่งเป็นส่วยให้กับทางราชการ การค้าภายในประเทศจึงมีน้อยเพราะ
ว่าทรัพยากรมีจำกัด   และความต้องการของแต่ละท้องถิ่นไม่แตกต่างกันการคมนาคมไม่
สะดวกจวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3  การค้าภายในประเทศจึงเริ่มขยายตัวเพราะชาวจีนเข้า
มามีบทบาททางการค้าโดยทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง  นำส่งสินค้าเข้า-ออก ตามท้อง
ถิ่นต่าง ๆ
ในส่วนที่เป็นรายรับ - รายจ่ายของแผ่นดินนั้น   กล่าวได้ว่ารายรับไม่สมดุลกับ
รายจ่าย  รายจ่ายส่วนใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นไปเพื่อการสร้างและบูรณะ
บ้านเมือง  รายจ่ายในการป้องกันประเทศการบำรุงศาสนานอกจากนี้ก็ยังมีรายจ่ายเบี้ย
หวัดข้าราชการและค่าใช้จ่ายภายในราชสำนักรายจ่ายตามประเภทที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
นับว่ามีจำนวนสูง    เพราะบ้านเมืองเพิ่งอยู่ในระยะก่อร่างสร้างตัวซ้ำยังมีศึกสงครามอยู่
เกือบตลอดเวลารายจ่ายที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเมื่อเทียบกับรายได้ของแผ่นดินซึ่งยังคงมีที่มา
เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องแสวงหายรายได้ให้
เพิ่มมากขึ้น
รายได้ของรัฐบาลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์จำแนกได้ดังนี้
1. ส่วย  คือ  เงินหรือสิ่งของที่ไพร่เอามาเสียภาษีแทนแรงงานถ้า ไม่ต้องการชำระ
เป็นเงิน  ก็อาจจะทดแทนด้วยผลิตผลที่มีอยู่ในท้องที่ ๆ  ไพร่ผู้นั้นอาศัยอยู่เช่นดีบุกดิน
ประสิว  นอกจากนี้ส่วยยังเรียกเก็บจากหัวเมืองต่าง ๆ และบรรดาประเทศราช
2. ฤชา  คือ  การเสียค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจ่ายเป็นค่าตอบแทนการบริการ
ของรัฐบาล  รัฐบาลจะกำหนดเรียกเก็บเป็นอย่าง ๆ ไป   เช่น   ค่าธรรมเนียมโรงศาล
ค่าธรรมเนียมการออกโฉนด หรือค่าธรรมเนียมกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
3. อากร  คือ  เงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการขอผูกขาดสัมปทาน เช่น การจับ
ปลา การเก็บของป่าต้มกลั่นสุรา และตั้งบ่อนการพนัน เป็นต้น ส่วนอีกประเภทหนึ่ง  คือ
การเรียกเก็บผลประโยชน์ที่ราษฎรทำได้จากการประกอบการต่างๆเช่น ทำนาทำไร่ การ
เก็บอากร ค่านา ในสมัยรัชกาลที่ 2 กำหนดให้ราษฎรเลือกส่งได้ 2 รูปแบบ คือ  ส่งเป็น
ผลิตผลหรือตัวเงิน เช่น ถ้าส่งเป็นเงินให้ส่งไร่ละหนึ่งสลึง อากรประเภทอื่นยังมีอีก  เช่น
อากรสวน อากรตลาด เป็นต้น
4. ภาษีอากรและจังกอบภาษีอากรหมายถึงการเก็บภาษีจากสินค้าเข้าและสินค้า
ออก ภาษีเข้ามีอัตราการเก็บที่ไม่แน่นอนประเทศใดที่มีสัมพันธไมตรีดีต่อไทยก็จะเก็บ
ภาษีน้อยกว่าเรือของประเทศที่ไปมาค้าขายเป็นครั้งคราวหาก  แต่ในสมัยรัชกาลที่  2
อัตราที่กำหนดให้เก็บคือร้อยละ8โดยตลอดส่วนชาวจีนนั้นให้คิดอัตราร้อยละ  4 ส่วน
ภาษีสินค้าออกเก็บในอัตราที่แตกต่างไปตามชนิดของสินค้า
จังกอบ คือค่าผ่านด่านซึ่งเรียกเก็บจากสินค้าและขนาดของพาหนะที่บรรทุก
ด่านที่เก็บจังกอบเรียกว่าขนอนหรือด่านภาษีการเก็บจังกอบมี 2 ประเภทคือประเภท
แรกเป็นการเก็บค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ    เรียกเก็บจากสินค้าค้าของ
ราษฏรโดยชักสินค้านั้นเป็นส่วนลดอีกประเภทหนึ่งคือ  เก็บตามอัตราขนาดของยาน
พาหนะที่ขนสินค้าผ่านด่าน โดยจะวัดตามความกว้างของปากเรือ เรียกว่า"ค่าปากเรือ"
ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้แม้เศรษฐกิจหลักของสังคมจะเป็นไปแบบเดิมคือ  การ
เกษตรกรรม โดยอาศัยธรรมชาติ   แต่ทางราชการก็พยายามสนับสนุนช่วยเหลือใน
การชลประทานการค้ากับต่างประเทศก็ดำเนินเป็นล่ำเป็นสันขึ้นกว่าในสมัยก่อน
เพราะไทยมีสินค้าออกคือ ผลิตผลทางการเกษตร     ซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศ
ทางตะวันตก

การปกครองในสมัยอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธฺราชย์ พระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุข ที่มีอำนาจสูงสุดใน การปกครอง แผ่นดิน ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม พระองค์ทรง มอบหมายให้พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางปกครอง ดูแลเมือง ลูกหลวง หลานหลวง ต่างพระ เนตรพระกรรณ ส่วนเมืองประเทศราชอมีเจ้านายใน ราชวงศ์เก่าปกครอง ขึ้นตรงต่อเมืองราชธานี ศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ(พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑) ทรงปฎิรูปการปกครอง ลดทอน อำนาจหัวเมือง ทรงแยกการบริหาร ราชการแผ่นดิน ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ในฝ่ายพลเรือน นั้นยัง แบ่งออกเป็น ๔ กรมหรือ จตุสดมภ์ คือ สี่เสาหลัก ได้แก่ กรมเวียงหรือนครบาลทำหน้าที่ปกครองดูแลบ้านเมือง กรมวังหรือธรรมมาธิกรณ์ ทำหน้าที่ดูแล กิจการพระราชวัง กรมคลังหรือโกษาธิบดีทำหน้าที่ดูแลด้านการค้าและการต่างประเทศ กรมนา หรือเกษตราธิการทำหน้าที่ดูแลเรื่องเกษตรกรรม ซึ่งรูปแบบการปกครองนี้ ใช้สืบต่อมา ตลอด สมัยอยุธยา

ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยา
การจัดระเบียบการปกครองแบ่งออกเป็น ๓สมัย
๑. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๙๑)
๒. สมัยอยุธยาตอนกลาง (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๒๓๑)
๓. สมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐)

++สมัยอยุธยาตอนต้นหรือสมัยการวางรากฐานการปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วน
๑.การปกครองแบบจตุสดมภ์
ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี ๔ คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น

-ขุนเวียง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนัน ในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาล และคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง

-ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่า ราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ

-ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าใน พระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาล ซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง

-ขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าว ขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็น ผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ

๒.การปกครองส่วนภูมิภาคหรือส่วนหัวเมือง

-เมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านอยู่รอบราชธานี ๔ ทิศ ห่างจากราชธานีใช้เวลาเดินทาง ๒ วัน พระมหากษัตริย์แต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง

-หัวเมืองชั้นใน คือเมืองที่อยู่รายรอบพระนคร ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ฯลฯ มีขุนนางจากเมืองหลวงไปปกครอง

-หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร เมืองขนาดใหญ่อยู่ห่างไกลจากราชธานี

-เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด ๓ ปีต่อครั้ง


++สมัยอยุธยาตอนกลาง หรือสมัยการปรับปรุงการปกครอง เริ่มในสมัยพระบรมโตรโลกนาถ การปรับปรุงการปกครอง ยึดหลักการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง แบ่งส่วนราชการออกเป็น

๑. การปกครองในส่วนกลางหรือส่วนราชธานี แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ฝ่าย

๑.๑ ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้า ดูแลทหารทั่วราชอาณาจักร

๑.๒ ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า และรับผิดชอบจตุสดมภ์ ๔ และเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ คือ เวียง เป็น นครบาล วัง เป็น ธรรมาธิกรณ์ นา เป็น เกษตราธิราช คลัง เป็น โกษาธิบดี


๒. การปกครองส่วนภูมิภาค โปรดให้ยกเลิกเมืองลูกหลวง จัดการปกครองออกเป็น

๒.๑ หัวเมืองชั้นใน เปลี่ยนเป็นหัวเมืองจัตวา มีผู้ปกครองคือผู้รั้ง

๒.๒ หัวเมืองชั้นนอก เปลี่ยนหัวเมืองชั้น เอก โท ตรี ตามลำดับความสำคัญ และขนาดของ เมือง

๒.๓เมืองประเทศราช ให้เจ้าต่างชาติต่างภาษาปกครองกันเอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาตามกำหนด


++สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยถ่วงดุลอำนาจ เริ่มในสมัยพระเพทราชา สมัยนี้ยึดแบบอย่างการปกครองแบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปรับปรุง แต่ได้แบ่งแยกอำนาจสมุหกลาโหมและสมุหนายกเสียใหม่ คือ

สมุหกลาโหม - ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมดทั้งที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

สมุหนายก - ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดที่เป็นฝ่ายทหารและพลเรือน

รูปแบบการปกครองของอยุธยา ใช้เรื่องมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองเสียใหม่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น